ทิ้งปัจจุบัน 

คำว่า “ปฏิบัติธรรม” ดูจะเป็นคำที่เข้มขลังสำหรับใครบางคน 

เพราะมักจะรู้สึกว่า การปฏิบัติธรรมต้องไปอยู่วัด ทำอะไร ที่ เคร่งครัด เคร่งเครียด ผิดปกติไปจากชีวิตประจำวัน บางคนพอได้ก้าว เท้าเข้าไปสู่สนามแห่งการฝึกฝน ก็เกร็ง เพ่ง เอาเป็นเอาตาย แต่เอา ไม่เป็นเลยเกือบตาย เส้นเอ็นตึงไปหมดทั้งตัว การไปปฏิบัติธรรม จึง ได้โรคกษัย ไตพิการกลับมาด้วย เข็ด ขยาดกันไปทั้งชีวิต 

แท้ที่จริงแล้วการปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องเรียบง่าย สบายๆ ลอง อ่านข้อความต่อไปนี้ แล้วคุณจะรู้ว่า ง่ายกว่าที่คุณคิดตั้งเยอะ 

คำว่า “ปฏิบัติ” มาจากคำว่า “ปฏิ” แปลว่า เฉพาะ และ “ปัตติ” แปลว่า ถึง 

แปลเอาความว่า การเข้าไปรู้จักสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นเฉพาะ หน้าที่นี่เดี๋ยวนี้ ทันที นั่นเอง 

พูดง่ายๆ คือให้รู้สึกตัวอยู่เสมอ ๆ ว่ากำลังมีอะไรเกิดขึ้น กับ กายและใจของตนเอง 

คำว่า “ธรรมะ” มาจาก ธร ธาตุ แปลว่า สภาพที่ทรงตัวอยู่ 

อย่างนั้น สิ่งหนึ่ง ธรรมชาติ หรือ ธรรมดา หรือภาษาพระเรียกว่า 

ธัมมัฏฐิติ ความตั้งอยู่เป็นธรรมดา 

ธัมมนิยาม ความเป็นกฎตายตัวเป็นธรรมดา ปฏิบัติธรรม จึงคือการรับรู้เรื่องธรรมดาเรื่องหนึ่งที่กำลัง เกิดขึ้นเฉพาะหน้าธรรมดานั่นเอง 

คำว่าเฉพาะหน้า มาจากคำว่า ปัจจุบัน 

“ปัจจุบัน” มาจากคำว่า “ปัจจะ” ซึ่งแปลงมาจากคำว่า ปฏิ 

นั่นเอง แปลว่า เฉพาะ และคำว่า “อุปปันนะ” ซึ่งแปลว่า เกิดขึ้น รวมความแล้ว…คำว่า “ปัจจุบัน” จึงแปลว่า สิ่งที่เกิดขึ้น เฉพาะหน้า 

แล้วอะไรล่ะที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า 

ปรากฏการณ์ธรรมดาทั้งหลายในโลกนี้ ที่มีอยู่ที่นี่และเดี๋ยวนี้ นั่นแหละ 

คำว่าปฏิบัติ กับคำว่าปัจจุบัน จึงเป็นเรื่องเดียวกัน สนามแห่ง การปฏิบัติ จึงอยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ซึ่งไม่พ้นรูปและนาม 

รูป คือ กายภาพ สสาร-พลังงาน หรือวัตถุ สัมผัสได้ด้วย จักขุ 

ประสาท (ตา) โสตประสาท (หู) ฆานประสาท (จมูก) ชิวหาประสาท (ลิ้น) กายประสาท (กาย) 

นาม ซึ่งไม่ใช่วัตถุ ไม่ใช่กายภาพ จับต้องสัมผัสด้วยตา หู และนาม จมูก ลิ้น กายประสาทไม่ได้ แต่รู้สึกได้ด้วยใจ 

ยกตัวอย่างง่ายๆ 

มีการกระทำอะไรเกิดขึ้นทั้งทางกายและทางใจ ให้รู้สึกตัว เช่น รู้ว่า กำลังเดิน กำลังนั่ง กำลังคิด กำลังเบื่อ กำลังเห็น กำลังได้ยิน กำลังหงุดหงิดกับคนเขียนว่าเขียนอะไรก็ไม่รู้ กำลังงง เป็นต้น คำว่าปัจจุบัน จึงเป็นเรื่อง “กำลังเกิดขึ้น (present)” คือ 

ปัจจุบันกาล มีอยู่ปรากฏอยู่เดี๋ยวนี้ ขณะนี้ ต่อหน้าต่อตา อย่างแท้จริง 

มีบทกวีอยู่บทหนึ่งซึ่งผู้เขียนประทับใจ ท่านเขียนไว้ว่า 

“เมื่อวานคือประวัติศาสตร์ 

พรุ่งนี้เป็นเรื่องลึกลับ 

วันนี้เป็นของขวัญ 

นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมจึงเรียกว่าปัจจุบัน’ 

วันวานคืออดีต 

วันพรุ่งนี้คือปริศนา วันนี้คือของขวัญล้ำค่า 

นั่นคือเหตุผลที่คนเรียก “ปัจจุบันกาล” ว่า “ของขวัญ” (999) 

ขอเขียนให้กระชับกว่านั้นว่า ขณะที่แล้วคืออดีต ขณะต่อไปคืออนาคต แต่ขณะนี้ (Present) คือสิ่งที่ท่านมี นี่คือเหตุผลว่า ทำไมจึงเรียกปัจจุบันนี้ว่าของขวัญแห่งชีวิต 

เพราะการมีอยู่ของสรรพสิ่ง มีจริงเพียงแค่ขณะนี้ เพื่อ 

นี้ เท่านั้น 

ผ่านไปเพียง ๑ ขณะจิตก็เป็นอดีต ขณะจิตที่ยังมาไม่ถึง ก็ยังเป็นอนาคต แต่สิ่งที่เกิดขึ้นขณะนี้ เป็นปัจจุบันของแท้ที่จะรับรู้สัมผัสได้ 

คนทั่วไปกำลังเพ้อฝันกับอดีตและอนาคต ไม่เคยรับรู้สิ่งที่มีอ จึงเพียงแต่พร่ำเพ้อถึงสิ่งที่จบไปแล้ว กับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น 

เท่านั้นเอง 

เพียงกลับมารับรู้ ตระหนักรู้ กำหนดรู้ รู้สึกตัว อยู่กับปัจจุบัน นั่นแหละคุณกำลังปฏิบัติธรรม 

แต่ปัจจุบันก็มีไว้เพียงให้รับรู้เท่านั้น รู้แล้วทิ้งไปเดี๋ยวนี้ ปัจจุบัน จึงไม่ได้มีไว้ให้ยึดถือครอบครอง 

พระพุทธเจ้าจึงตรัสไว้ในคาถาธรรมบทว่า 

“เธอจงเป็นผู้ปล่อยวางทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน, จงเป็นผู้ ถึงฝั่งแห่งภพ เธอผู้มีใจหลุดพ้นในธรรมทั้งปวงแล้ว จักไม่เข้าถึงชาติ เราอีกต่อไป” 

(อุคคเสนเสฏฐิปุตตวัตถุ ๒๕/๒๕๕๑๔๑) 

นั่นคือการปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น ความทะยานอยาก ใน สิ่งทั้งหลายที่เป็นทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน 

เท่านั้น 

ถ้าไม่มีที่นั่น ไม่มีที่โน้น ที่นี่ก็ไม่มี 

ถ้าจะว่าไปแล้ว ปัจจุบันก็เป็นเพียงการเปรียบเทียบ เพราะถ้าไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต จะเรียกอะไรว่าปัจจุบัน 

ถ้าไม่มีข้างหน้า ไม่มีข้างหลัง ตรงกลางก็ไม่ปรากฏ ไม่มีชาติที่แล้ว ไม่มีชาติหน้า ชาตินี้จะมีได้อย่างไร จึงไม่เกิด ไม่ตาย แล้วจะมีใครที่ยังคงอยู่อีกเล่า 

วางอดีต ทิ้งอนาคต ปัจจุบันก็ยุติ 

ขอขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ ธรรมะมรรคง่ายแค่ไม่ทุกข์ก็สุขเเล้ว ของท่านพระมหาวิเชียร ชินวํโส

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *