สังขารเป็นทุกข์
เพราะคงสภาพเดิมไม่ได้
คำว่า “เป็นทุกข์” นั้น ตรงกับคำบาลีว่า ทุกขัง, ทุกขตา
หรือ ทุกขลักษณะ ท่านจำแนกไว้ ๓ อย่าง คือ 1 ทุกขทุกข์ตา หรือ ทุกขทุกข์ ได้แก่ ทุกขเวทนาทางกาย และทางใจ เช่น ความเจ็บปวด ความไม่สบาย ความเมื่อยขบ ความโศก เศร้า เป็นต้น
๒. วิปริณามทุกข์ตา หรือ วิปริณามทุกข์ ได้แก่ ทุกข์ที่เกิด จากความผันแปร คือ ความสุขเป็นเหตุให้เกิดทุกข์เมื่อแปรเปลี่ยนเป็น อย่างอื่น เช่น มีลาภแล้วเสื่อมลาภ เป็นต้น
04 สังขารทุกขตา หรือ สังขารทุกข์ ได้แก่ ทุกข์ตามสภาพ ของสังขาร คือตัวสภาวะของสังขารทั้งหลายที่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง ถูก บีบคั้นกดดันด้วยการเกิดขึ้นและแตกสลายไป ทำให้คงอยู่ในสภาพเดิมไว้ ไม่ได้ และทำให้เกิดทุกข์แก่ผู้เข้าไปยึดสังขารทั้งปวงได้ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะอรรถคือเหตุผล ๔ ประการ คือ
๑. อภิณหสมบัติปีฟันโต เพราะความบีบคั้นอยู่ตลอดเวล คือถูกบีบคั้นด้วยความเกิดขึ้น ความเสื่อมโทรม และความแตกสลายไป
อยู่ตลอดเวลา ๒. ทุกขมโต เพราะเป็นสภาพที่ทนอยู่ได้ยาก คือไม่อาจค อยู่ในสภาพเดิมได้
61. ทุกขวตถุโต เพราะเป็นที่ตั้งแห่งกองทุกข์ หรือเป็นสิ่งที่ก ให้เกิดทุกข์ คือเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดทุกข์ต่าง ๆ มีทุกขเวทนา (ความรู้สึก ทุกข์) เป็นต้น
๔. สุขปฏิกเขปโต เพราะแย้งต่อความสุข คือไม่ยอมให้ความ สุขตั้งอยู่ได้นาน
อนึ่ง สังขารทั้งหลายได้ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะประกอบด้วย ๑๐ อย่าง ดังนี้
ทุกข์ สภาวทุกข์ ทุกข์ประจำสังขาร เป็นทุกข์ที่เกิดมีในมนุษย์ ไม่เว้นแม้กระทั่งสัตว์เดรัจฉาน คือ ชาติ ความเกิด ชรา ความ ทุกคน มรณะ ความตาย กล่าวคือ ชีวิตของคนเราประกอบไปด้วย
๑) ชาติทุกข์ ทุกข์เพราะการเกิด คือ เมื่อเกิดจากครรภ์มารดาก็เป็นความลำบาก เจ็บปวดทรมาน
๒) ชราทุกข์ ทุกข์เพราะความแก่ คือ เมื่อเกิดมาแล้ว วัยหรืออายุ ก็ผ่านพ้นไปกลายเป็นคนแก่ไปเรื่อย ๆ
๓) มรณทุกข์ ทุกข์ เพราะกลัวต่อความตาย เมื่อความตายคืบคลานเข้ามาก็เกิดความกลัว ไม่ อยากตาย
10. ปริณณกทุกข์ คือทุกข์จร ทุกข์ที่จะมาเป็นครั้งคราว แบ่ง ออกเป็น 3 อย่าง ได้แก่
๑) โดย ความโศก
๒) ปริเทวะ ความร่ำไร รำพัน
(3) ทุกขะ ความทุกข์กาย
(4) โทมใส ความทุกข์ใจ
๕) อุปายา ความคับแค้นใจ
6) อัปปิเผาหัสมาโยคทุกข์ ทุกข์ที่เกิดจากความประสบ กับสิ่งที่ไม่ชอบ
(7) ปิเยหิ วิปโยคทุกข์ ทุกข์ที่เกิดจากการพลัดพรากจากสิ่ง ที่รักชอบใจ
๓. นิพัทธทุกข์ ทุกข์เมืองนิตย์ คือทุกข์ประจำ หรือทุกข์ เป็นเจ้าเรือน ที่เกิดขึ้นเป็นธรรมดาและบรรเทาให้หายไปได้โดยง่าย เช่น ความหนาว ร้อน หิว กระหาย ปวดอุจจาระ ปัสสาวะ เป็นต้น
4. พยาธิทุกข์ ทุกข์เพราะความเจ็บป่วย คือทุกขเวทนาต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นจากอวัยวะภายในร่างกายไม่ทำหน้าที่ตามปกติ เช่น ปวดศีรษะ
ปวดท้อง ปวดฟัน เป็นต้น
๔. สันดาปทุกข์ ทุกข์คือความร้อนรุ่ม หรือทุกข์ร้อน ได้แก่ ทุกข์ที่เกิดจากความร้อนรุ่มเพราะไฟกิเลส คือ ราคะ โทสะ โมหะ แผดเผา จึงทำให้เกิดความเร่าร้อน กระวนกระวายใจ
5. วิปากทุกข์ ทุกข์ที่เกิดจากผลกรรม มี ๒ อย่าง คือ
๑) ทุกข์ที่เกิดขึ้นในชาติปัจจุบัน เช่น กระทำความผิดแล้วได้รับโทษตาม กฎหมายบ้านเมือง ๒) ทุกข์ที่ได้รับหลังจากที่ตายไปแล้ว เช่น ไปเกิดใน ทุคติ เป็นต้น
๗. สหคตทุกข์ ทุกข์ที่ไปด้วยกัน หรือทุกข์กำกับ ได้แก่ ทุกข์ ที่เกิดขึ้นพร้อมความสุข เช่น ได้ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ ที่ชอบใจ พอใจ ก็กลัวหายไปแล้วเกิดความทุกข์ในการรักษาให้คงอยู่ในสภาพเดิม
๔. อาหารปริเยฏฐิทุกข์ หรืออาชีวทุกข์ ทุกข์ในการทำมาหา เลี้ยงชีพ คนเราหรือแม้กระทั่งสัตว์เดรัจฉานมีชีวิตอยู่ได้ก็เพราะอาหาร ดังนั้นจึงดิ้นรนแสวงหาอาหารมาประทังชีวิต บางครั้งต้องแก่งแย่งชิงดี ชิงเด่น มือใครยาวสาวได้สาวเอา จนเกิดการทะเลาะวิวาทตีรันฟันแทงก์น และต้องคอยระวังภัยอันตรายต่าง ๆ ตลอดเวลา
๔. วิวาทมูลกทุกข์ ทุกข์เพราะความวิวาทเป็นมูล เป็นทุกข์ที่ เกิดเพราะการทะเลาะวิวาทด้วยเรื่องต่าง ๆ เช่น เรื่องส่วนตัว เรื่องผล ประโยชน์ที่ต่างฝ่ายต่างต้องการอยากได้ จนเกิดความไม่สบายใจ กลัวต่อ การพ่ายแพ้
๑๐. ทุกขขันธ์ ทุกข์รวบยอด หมายถึงสังขารคือเบญจขันธ์ที่ บุคคลยึดมั่นถือมั่นนั่นเองที่เป็นตัวทำให้เกิดทุกข์ ดังมีพระบาลีที่แสดงไว้ ว่า “ สงฺขิตเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัว ทุกข์ ”
ทุกข์ทั้ง ๑๐ ประการดังกล่าวมานั้น เป็นทุกข์ที่แสดงในอริยสัจ ซึ่งเกิดมีเฉพาะแก่อุปาทินนกสังขาร คือสังขารที่มีใจครอง ต่างโดยมนุษย์ สัตว์ เทวดา เป็นต้น เท่านั้น ไม่รวมถึงอนุปาทินนกสังขาร
สังขารทั้งปวงถูกภาวะแห่งความเป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยงบีบคั้น ให้ต้องเปลี่ยนสภาพอยู่ตลอดเวลา ไม่อาจคงอยู่ในสภาพเดิมได้ จึงเป็น
1. ทุกข์ แต่ความเป็นทุกข์หรือทุกข์ตานั้นมองเห็นได้ไม่ง่าย ทั้งนี้เพราะถูก อิริยาบถ คือ ความเคลื่อนไหวยักย้าย ปิดบังเอาไว้
หมายความว่า ทุกขตา ความเป็นทุกข์ เป็นภาวะที่เกิดจาก ความบีบคั้นกดดันจากแรงของความเปลี่ยนแปลงจนถึงระดับที่ปรากฏแก่ สายตาหรือความรู้สึกของมนุษย์นั้น ต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง แต่ถ้าใน ระหว่างนั้นมีการยักย้ายไปเป็นอย่างอื่นเสียก่อน ภาวะที่เป็นทุกข์อยู่นั้นก็
ยังไม่แสดงตั้งออกมาให้เห็น ตัวอย่างเช่น ในการดำในชีวิตประจำวัน ของคนเราถ้าอยู่ในอิริยาบถไดกิริยานหนึ่งนาน ๆ เช่น ฝนอย่างเดียว นั่ง อย่างเดียว ความบีบคั้นกดดันก็จะค่อย ๆ เพิ่มมากยิ่งขึ้นจนรู้สึกปวดเมื่อย เป็นทุกข์ ถึงกับทนไม่ไหวต้องปรับเปลี่ยนอิริยาบถ ความเป็นทุกข์ก็จะ ระงับหายไป แต่ถ้าเราเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ ก่อนที่ทุกข์จะแสดงตัวกลา มา ก็ทำให้เราเข้าใจว่า ทุกข์ไม่มี ด้วยเหตุนี้ท่านจึงกล่าวว่า อริยาบถ ปัตยให้ทุกข์
ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา
ทุกสิ่งเป็นอนัตตา ไม่อาจยึดถือเป็นของคน
คำว่า “ธรรมทั้งปวง” หมายเอาทั้งสังขตธรรม (ธรรมที่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่งขึ้นทั้งหมด) ทั้งที่มีวิญญาณและไม่มีวิญญาณ ทั้งที่เป็น รูปธรรมและเป็นนามธรรม ทั้งที่ดีและชั่ว ตรงกับคำว่า “สังขาร” ในคำว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ และหมา เกาะสังขธรรม ธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่พระนิพพานด้วย
ธรรมทั้งปวงทั้งที่เป็นสังขตธรรมและอสังขตธรรมได้ชื่อว่าเป็น อนัตตา เพราะเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตนอันแท้จริง ท่านแสดงธรรมหรือเหตุผล สนับสนุนความเป็นอนัตตาของธรรมทั้งหลายไว้ ๔ ประการ ดังนี้
สุญฺญโต เพราะความเป็นสภาพที่ว่างเปล่า ปราศจากตัวตน ที่เป็นแก่นหรือเป็นแกน ว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ที่แท้จริงเป็นเพียงกระบวนธรรม ที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย พูดให้ เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ ว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ๆ จากความเป็นนั่นเป็นนี่ ที่กำหนดหมายกันขึ้น ซึ่งมีพระบาลีที่แสดงไว้ใน ปรายนวรรค (สุตตนิบาต ขุททกนิกาย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ หน้า ๕๕๕) ในการพยากรณ์ปัญหาของพระโมฆราชว่า
“โมฆราช เธอจงมีสติทุกเมื่อ เล็งเห็นโลกโดยความเป็นสภาพสูญ ถอนอัตตานุทิฏฐิ ตามความเห็นว่าเป็นอัตตาเลีย เช่นนี้ เธอจึงจักพ้นจาก พญามัจจุราชได้”
๒. อสสามิโก เพราะเป็นสภาพที่ไม่มีเจ้าของ คือไม่มีตัวตนที่ เป็นเจ้าของ และไม่เป็นของของใคร เป็นเพียงกระบวนธรรมที่เป็นไปอย่าง นั้นตามเหตุปัจจัย ดังมีพระบาลีที่แสดงไว้ในอนัตตลักขณสูตร
(สุตตนิบาต อังคุตตรนิกาย พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ หน้า ๕๕) ว่า “เนตํ มม. เนโสหมสุมิ น โส เม อตฺตา นั่นมิใช่ของเรา นั่นมิใช่เรา นั่นมิใช่ตัวตน ของเรา”
อวสวดตนโต เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ คือไม่เป็นไปใน อำนาจของใคร ไม่ขึ้นตรงต่อผู้ใด ไม่มีใครมีอำนาจบังคับให้เป็นไปตามที่ ต้องการได้ คือไม่อาจห้ามไม่ให้แก่ ไม่ให้เจ็บ ไม่ให้ตายได้ ดังมีพระบา ที่แสดงไว้ในอนัตตลักขณสูตร (สุตตนิบาต อังคุตตรนิกาย พระไตรปิฎ ” เล่มที่ ๑๗ หน้า ๕๕ ) ว่า
ถ้าเบญจขันธ์จักเป็นอัตตา ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และเราก็ จะพึงปรารถนาเบญจขันธ์ของตนเป็นไปได้ตามปรารถนา แต่เพราะเหตุที่ เบญจขันธ์เป็นอนัตตาและมีอาพาธ คนเราจึงปรารถนาให้เบญจขันธ์เป็นไป ตามอำนาจไม่ได้
๔. อตฺตปฏิกเขปโต เพราะแย้งต่ออัตตา คือขัดกันกับสิ่งที่
เป็นอัตตา ปฏิเสธความเป็นตัวตน ดังมีพระบาลีที่แสดงไว้ในบทนิจจสูตร ขันธวารวรรค สังยุตตนิกาย (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ หน้า ๑๙) ว่า สิ่งใด ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือไม่หนอที่จะ จารณาเห็นสิ่งนี้สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นตัวของเรา
๔. ยถาปัจจยปวตฺติโต เพราะเป็นภาวะที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย คือเกิดขึ้นและดับไปตามกระบวนการของเหตุปัจจัย ไม่เป็นไปตามความ ปรารถนาของผู้ใด ไม่มีตัวตน และไม่เป็นของใคร เป็นสภาพที่เกิดขึ้น เพราะปัจจัยต่าง ๆ เป็นเหตุทำให้เกิดขึ้นและเมื่อดับก็ดับไปเพราะเหตุเช่น กัน ดังมีพระบาลีแสดงไว้ในปฐมโพธิสูตร อุทาน ขุททกนิกาย (พระไตร ปิฎกเล่มที่ ๒๕ หน้า ๔๔) ว่า
“ในกาลใด ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏแก่พราหมณ์ผู้เพียรเพ่ง พิจารณา ในกาลนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้น ย่อมสิ้นไป เพราะมารู้ธรรมเป็นไปกับเหตุ และมารู้ความสิ้นไปแห่งปัจจัย
แม้สังขารทั้งหลายจะเป็นอนัตตา คือความไม่มีตัวตนก็จริงอยู่
แต่เพราะถูก ฆนสัญญา คือ ความสำคัญว่าเป็นกลุ่มก้อน ปกปิดเอาไว้ จึงทำให้มองเห็นได้ยาก ต้องอาศัยการพินิจพิจารณาด้วยปัญญาอย่าง แยบคายตามหลักวิปัสสนาจึงจะสามารถมองเห็น และเมื่อบุคคลใด พิจารณาเห็นความเป็นจริงของสังขาร โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นอนัตตา เมื่อนั้นจิตย่อมเกิดความเบื่อหน่ายในสังขาร คลายความ ยึดมั่นถือมั่นในสังขารว่าเป็นของเรา เป็นตัวตนของเรา และจักหลุดพ้น จากอาสวะทั้งปวง เป็นจิตที่บริสุทธิ์ สงบเย็น และดับทุกข์ได้ในที่สุด
ชีวิตของมนุษย์และสัตว์โลกอื่น ๆ ย่อมดำเนินไปสู่จุดหมาย ๆ ปลายทางเดียวกันคือ ความตาย อันความตายนี้ถือว่าเป็นจุดจบของ ชีวิตทุกชีวิต ไม่มีผู้ใดสัตว์ใดหลีกหนีพ้นไปได้เลย เกิดมาเท่าใด มีชีวิต อยู่เท่าใดก็จะต้องตายไปเท่านั้น ไม่มีขาด ไม่มีเกิน และไม่มีเหลือ แม้แต่ชีวิตเดี่ยว นี่คือสัจธรรมที่จริงแท้แน่นอนของชีวิตทุกชีวิต
(ธรรมสารทีปนี : พระธรรมกิตติวงศ์ : ๒๕๔๔)
ขอขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ เรียนนักธรรมเอกวิชาธรรมวิจารณ์