ภูมิคุ้มกันความทุกข์ 

ตั้งแต่เรียนชั้นประถม จนถึงวันอุปสมบท ผู้เขียนเห็นลุงแดงเดิน อยู่ริมถนนพหลโยธิน 

ไม่มีใครสนใจว่าแกเป็นใคร มาจากไหน 

ในช่วงกลางวัน แม้ฝนจะตก แดดจะออกอย่างไร ดูแกจะไม่ 

สนใจ เดินไป คุยไป หัวเราะไป กับใครก็ไม่รู้ เพราะแกเดินคนเดียว 

เสื้อผ้าสกปรกมอมแมม เพราะไม่เคยผ่านการซักฟอกร่างกาย ไม่ได้เจอสบู่ยาสระผมมานานปีแล้ว 

ตกลุงแดงจะเข้าไปอาศัยนอนในวัด โดยที่ไม่สนใจมุ่งหมอน เสื่อ แต่มีเพียงพื้นปูนเรียบๆ แกก็นอนได้อย่างเป็นสุข โดยมียุงและ หมาวัดฝูงใหญ่เป็นเพื่อน 

ส่วนเรื่องอาหาร มีพระท่านเมตตาเก็บไว้ให้ ตอนเช้าหลังจากกินข้าวก้นบาตรพระ แกก็ออกไปทำหน้าที่สำรวจถนนต่อไปและ หลายครั้งกว่าจะเย็นค่ำ อาหารที่พระท่านเก็บไว้ให้ก็พูดเสียแล้ว แ ดูแกจะไม่อนาทรร้อนใจแต่อย่างใด รับประทานได้อย่างเอร็ดอร่อย ทุกครั้ง 

ใช่แล้ว แกเป็นคนบ้า คนบ้าที่มีความสุข แกไม่มีอะไรเป็น สมบัติส่วนตัว นอกจากเสื้อผ้าที่แกสวมใส่ จนเมื่อผู้เขียนมองย้อน กลับมาสำรวจตนเองที่มีนั่น โน่น นี่มากมาย แต่ไม่เคยพอใจสักครั้ง ทุกข์กับความมีความเป็นของตนเองอยู่บ่อยๆ หลายครั้งก็ชักสับสน ตงิดๆ ว่า 

“ลุงแดงกับเรานี่ ใครบ้ากว่ากันหว่า” 

และที่ สงสัยมานานก็คือ ทำไมคนบ้าส่วนมากไม่ค่อยเจ็บป่วย หรือเขาก็ป่วยเป็นแต่ไม่บอก หรือเขาป่วยแต่ไม่ทุกข์? 

จนเมื่อเติบโตขึ้นมา ถูกฉีดวัคซีน ปลูกฝีอยู่หลายครั้งจึงได้รู้ว่า เขาทำเพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกัน เพราะวัคซีน หรือการปลูกฝีนั้น เขาเอาเชื้อ โรคนั่นแหละมากระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน 

ภูมิคุ้มกันโรค (Immunity) หมายถึง ร่างกายมีความต้านทาน เกิดจากมีกลไกป้องกันหรือต่อต้านโรคใดโรคหนึ่งโดยเฉพาะ 

ภูมิคุ้มกันโรคโดยทั่วไปท่านแบ่งออกเป็น ๒ ชนิด 

ภูมิคุ้มกันโรคที่มีอยู่ตามธรรมชาติ (Natural Immunity) เป็นภูมิคุ้มกันโรคที่ถ่ายทอดมาทางสายเลือด โดยแม่จะถ่ายทอด 

ผ่านทางรถมาสู่ลูกในครรภ์ ดังนั้น ทารกที่เกิดใหม่จะมีภูมิคุ้มกัน โรค บางชนิด เช่น โรคคอตีบ โรคหัด และไข้ทรพิษได้เองตาม ธรรมชาติ แต่ภูมิคุ้มกันโรคตามธรรมชาติเหล่านี้คงอยู่ได้ประมาณ ๓ เดือน หลังคลอด ต่อจากนั้น ทารกจะมีภูมิคุ้มกันโรคลดลง 

แม้แต่นมแม่ซึ่งไม่ได้ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ หรือสเตอริไลซ์ มา จากไหน เมื่อทารกดื่มก็ช่วยกระตุ้นลำไส้ของลูกน้อยให้รู้ว่า แบคทีเรีย ชนิดใดมีประโยชน์ นั่นคือกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเอง 

และร่างกายของคนเราโดยทั่วไปยังมีผิวหนัง เยื่อเมือกต่างๆ เช่น เยื่อตาและเยื่อจมูก น้ำย่อยอาหาร และเม็ดเลือดขาวไว้สำหรับ คุ้มกันโรคตามธรรมชาติอีกด้วย 

๒. ภูมิคุ้มกันโรคที่เกิดขึ้นภายหลัง (Acquired Immu nity) จะเกิดขึ้นภายหลังจากหายป่วยด้วยโรคต่างๆ เช่นไข้ทรพิษ หัด อีสุกอีใส คางทูม เป็นต้น เพราะเมื่อเป็นโรคเหล่านี้แล้วร่างกายจะ สร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเอง หรือเกิดได้โดยการปลูกฝี ฉีดวัคซีน ฉีดเซรุ่ม เพื่อช่วยให้ร่างกายมีหรือสร้างภูมิคุ้มกันเฉพาะโรคใดโรคหนึ่งขึ้นมา 

เชื่อได้ว่า หากจับลุงแดงไปเจาะเลือด ตรวจหาเชื้อโรคแล้ว ให้แพทย์วินิจฉัย แกคงเป็นสารพัดโรค แต่ที่แกไม่ป่วยเพราะแกมี ภูมิคุ้มกัน 

เชื้อโรคต่างๆ จึงมีทั้งคุณและโทษต่อร่างกายของมนุษย์ 

นางปฏาจารา เป็นธิดาเศรษฐีชาวเมืองสาวัตถี เป็นที่รักเป็นที่ หวงแหนของบิดามารดามาก ไม่ยอมให้คบหาสมาคมกับชายใด ถึง 

กับสร้างปราสาท 4 ชั้นให้นางอยู่ จะไปไหนที่ต้องขออนุญาต ทำให้ 

นางรู้สึกอึดอัดมาก จนในที่สุดนางเกิดความรักกับคนใช้ในบ้าน มี 

ความสัมพันธ์กันลับๆ โดยที่บิดามารดาไม่ทราบ วันหนึ่งนางทราบว่ามารดาบิดาจะบังคับให้แต่งงานกับลูกชาย เศรษฐีที่มีฐานะเท่าเทียมกัน ด้วยอำนาจแห่งรัก นางจึงนัดแนะกับ ชายคนรักหนีออกจากบ้านไปอยู่ชนบทห่างไกล ทนอยู่อย่างอดๆ อยากๆ ไม่นานนักก็ตั้งท้องลูกคนแรก 

เมื่อใกล้จะคลอดนางนึกถึงมารดาบิดาว่า 

“ถ้าคลอดลูกท่ามกลางพ่อแม่ญาติพี่น้อง คงจะอบอุ่นและ ปลอดโยกว่า ” นางจึงขอร้องให้สามีพากลับบ้าน สามีกลัวความผิดของตนเอง เกรงว่าจะถูกเศรษฐีทำร้ายไม่ยอมให้อภัย จึงบ่ายเบี่ยงไม่ยอมพา 

นางกลับ 

เมื่อสามีไม่อยู่บ้าน วันหนึ่งนางก็หนีกลับบ้าน ระหว่างทางเกิด ปวดท้องรุนแรงและคลอดลูกในระหว่างทาง สามีตามมาทันจึงพา กลับบ้านตามเดิม 

ครั้นตั้งท้องลูกคนที่สอง นางก็อ้อนวอนสามีให้พากลับบ้าน อีก สามีก็บ่ายเบี่ยงเช่นเคย นางจึงพาลูกหนีสามีไปอีก สามีตามมา ทัน บังเอิญว่าวันนั้นเกิดพายุฝนกระหน่ำ สามีจึงไปหาใบไม้มาทำ เพิ่งหลบฝนแต่เคราะห์ร้ายถูกงูกัดตาย ในขณะที่รอสามีกลับมานาง ก็คลอดลูกคนที่สองในท่ามกลางฝนตกหนัก นางต้องทนทุกข์ทรมาน ตลอดคืน 

เมื่อสร้างแล้ว นางได้อุ้มลูกน้อยที่พึ่งคลอดใหม่และจูงลูกชาย คนโตเห็นตามหาสามี เมื่อเห็นสามีตายแล้วก็ร้องไห้เสียใจ พาลูก กลับเมืองสาวัตถี พบแม่น้ำกระแสเชียงขวางทางอยู่ ครั้นจะพาลูกทั้ง สองข้ามน้ำไปพร้อมกันก็ไม่ได้ จึงว่างลูกชายคนโตให้รอ อยู่ฝั่งนี้ อุ้ม เอาลูกคนเล็กข้ามน้ำไปวางไว้ที่ฝั่งโน้น แล้วกลับมาเพื่อจะรับลูกคน ใช้จ่ายน้ำ 

พอถึงกลางลำธาร มีเหยี่ยวใหญ่ตัวหนึ่งบินผ่านมาเห็นเด็ก น้อยฟังตลอดเข้าใจว่าเป็นชิ้นเนื้อ จึงโฉบลงมา นางรีบ ยกมือทั้งสอง ขึ้นโรงจะโยนใส่เหยียงเสียงดังลั่น 

สายเสียแล้ว เหยี่ยวได้โฉบเอาลูกน้อยของนางไปต่อหน้าต่อตา ฝ่ายลูกชายคนโตเป็นแม่ยกมือขึ้นร้องโหวกเหวก นึกว่าแม่ร้องเรียก ก็ กระโจนลงน้ำจะมาหาแม่ ถูกกระแสน้ำพัดหายไปในบัดดล 

ปฏาจาราได้สูญเสียทุกอย่างหมดสิ้น สามีและลูกน้อยตายไป ต่อหน้าต่อตา นางร้องไห้คร่ำครวญอย่างน่าสงสาร น้ำตาแทบเป็น สายเลือด เดินโซซัดโซเซไปสู่เมืองสาวัตถี 

ระหว่างเดินทางมุ่งหน้าไปเมืองสาวัตถี พบชาวเมืองคนหนึ่ง เดินสวนทางมา นางจึงถามถึงบิดามารดาของตน เมื่อได้รับคำตอบ ว่าเมื่อคืนนี้ฝนตกหนัก ได้เกิดอุทกภัยพัดกระหน่ำบ้านเศรษฐีฟังทับ คนในบ้าน บิดามารดาและพี่ชายของนางได้ตายหมดแล้ว 

ความหวังที่พอมีอยู่หมดไปเสียแล้ว นางล้มลงสิ้นสติไปทันที ฟื้นขึ้นมาอีกทีก็กลายเป็นคนเสียสติเดินไปอย่างไร้จุดหมายจนผ้าผ่อน ที่นั่งอยู่หลุดหายไปไม่รู้สึกตัว 

ชาวเมืองเห็นนางก็ขับไล่ไสส่งให้พ้นจากบ้านตน ไม่มีใคร ปรารถนาให้นางเข้าใกล้ 

“หญิงบ้าไปที่อื่นๆ ไป” นางเป็นสะเปะสะปะ หัวเราะบ้างร้องไห้บ้างเข้าไปยังเชตวัน 

มหาวิหาร 

ขณะนั้นเอง พระพุทธเจ้ากำลังแสดงพระธรรมเทศนาอยู่ อุบาสกอุบาสิกาต่างก็ขับไล่นางให้หนีไป พระพุทธองค์ตรัสบอกพวก เขาให้พานางเข้ามา พร้อมกับตรัสเตือนสติว่า 

“น้องหญิง จงมีสติกลับมาเถิด” 

ด้วยพุทธานุภาพ นางได้สติกลับคืนมา เห็นตัวเองเปลือยกาย ล่อนจ้อนต่อหน้าธารกำนัล ก็นั่งลงด้วยความอดสู อุบาสกคนหนึ่งได้ โยนผ้าให้นางนุ่งห่ม นางเข้าไปกราบแทบพระยุคลบาท 

กราบทูลพลางร่ำไห้ไปพลางถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับนาง นาง เหลือเพียงผู้เดียว ไร้ญาติขาดมิตรเสียแล้ว 

พระพุทธองค์ตรัสว่า 

“อย่าคิดมากเลยปฏาจารา สามี ลูกทั้งสอง บิดา มารดาและ พี่ชายของเธอก็ตายไปแล้ว ถึงเธอจะร้องไห้จนน้ำตาท่วมตัวเธอก็ช่วย ให้เขาเหล่านั้นฟื้นขึ้นมาไม่ได้ น้ำตาของผู้ที่ร้องไห้เพราะพลัดพราก จากบุคคลอันเป็นที่รักในสังสารวัฏอันยาวนานนี้ มีมากกว่าน้ำใน มหาสมุทรทั้งสี่เสียอีก เธออย่าได้มัวประมาทอยู่เลย จงทำที่พึ่งแก่ ตัวเองเถอะ แล้วเธอจะไม่ต้องเสียน้ำตาอีกต่อไป ปิยชนทั้งหลาย มีบิดามารดาเป็นต้น ไม่อาจเป็นที่พึ่งแก่เราได้เคย นอกจาก พึ่งตัวเราเอง” 

เมื่อได้ฟังพระพุทธดำรัสตรัสปลอบโยน นางก็ค่อยบรรเทา ความเศร้าโศกลง จิตใจสงบผ่องใส ฟังพระธรรมเทศนา ได้บรรด โสดาปัตติผล จึงทูลขอบวชเป็นภิกษุณี พระพุทธองค์ได้ sobsuan. ในสำนักภิกษุณี 

เมื่อบวชแล้ววันหนึ่ง พระเถรีเทนจากหม้อดินต่างเข้ามองเห็น น้ำไหลไปหน่อยหนึ่งแล้วซึมหายไปในดิน เพลงครั้งที่สอง น้ำไหลไป ไกลกว่าเดิมแล้วก็ซึมหายไป เพลงครั้งที่สามน้ำไหลไปไกลกว่านั้นอีก แล้วก็ซึมหายไป นางพิจารณาว่า 

“ชีวิตคนเราก็เหมือนกับน้ำที่เหออกจากหม้อน้ำ บางคนตาย แต่อายุยังน้อย บางคนตายเมื่อเข้าวัยกลางคน บางคนตายในวัยแก่ ชรา ชีวิตนี้ไม่แน่นอนเลย” 

ทันใดนั้น พระพุทธองค์ ปรากฏต่อหน้านาง ท่ามกลางไพพรรณ 

รังสี ทรงตรัสว่า 

“ปฏาจารา เธอคิดถูกแล้ว การมีชีวิตอยู่เพียงวันเดียวของคนที่ พิจารณาเห็นความเกิดดับแห่งเบญจขันธ์ ประเสริฐกว่าการมีชีวิตอยู่ ตั้งร้อยปีของคนที่มองไม่เห็นสัจจะข้อนี้” 

เมื่อจบพระธรรมเทศนา พระปฏาจาราเถรีได้บรรลุพระอรหันต์ พร้อมปฏิสัมภิทาทันที และได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ ในตำแหน่ง เขตทัคคะทางด้านเป็นผู้เคร่งครัดในพระวินัยเพราะความทุกข์มหันต์ จึงชักนำให้พระเถรีค้นพบความสุข นิรันดร์ ทุกข์จึงเป็นวิถีทางแห่งการก้าวเดินสู่จุดหมายปลายทางอัน เป็นประโยชน์สูงสุดของชีวิต 

องหลังชีวิตของนางกลายเป็นประโยชน์ ประสบการณ์ชีวิตเบื้องหลังชีวิ แก่นางในการเผยแผ่พระศาสนา นางได้นำเอาประสบการณ์ไปสอน ภิกษุณีและสตรีทั้งหลายได้เป็นอย่างดี จึงมักปรากฏว่ามีเหล่าสตรี ผู้มีปัญหาชีวิตมาขอคำแนะนำจากนางอยู่เสมอ 

ชีวิตของพระนางปฏาจาราเถรี จึงเป็นชีวิตที่เป็นกำลังใจแก่ ผู้ที่กำลังประสบความทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งให้ยืนหยัดต่อสู้ได้เป็น อย่างดี 

เชื้อโรคทางกาย มีภูมิคุ้มกันทางกายช่วยปกป้อง เชื้อโรคทางใจ มีสติสัมปชัญญะ เป็นภูมิคุ้มกัน 

การขาดสติ สัมปชัญญะ ก่อให้เกิดความทุกข์ และความผิด หวังในชีวิต 

ความทุกข์จึงเป็นอริยสัจ หรือความจริงอันประเสริฐ ที่ย้อน กลับไปเป็นวัคซีนช่วยเยียวยาโรคทางจิตวิญญาณได้เป็นอย่างดี 

อย่ากลัวทุกข์ แต่จงเรียนรู้ทุกข์ อย่าหนีทุกข์ แต่จงทำความเข้าใจในทุกข์ 

อย่าเป็นทุกข์ แต่จงเห็นทุกข์ อย่าเกลียดทุกข์ แต่จงยิ้มรับและต้อนรับมันฉันเพื่อนสนิท 

เมื่อใรคช่วยให้เกิดภูมิคุ้มกันโรค ความทุกข์ ช่วยให้เกิดภูมิคุ้มกันความทุกข์ ยอมรับ เรียนรู้ เข้าใจ แล้วการปล่อยวางทุกข์จะเกิดขึ้นเอง แต่ไม่ทุกข์…ความสุขก็เกิดขึ้นทันที 

ขอขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ ธรรมะมรรคง่ายแค่ไม่ทุกข์ก็สุขเเล้ว ของท่านพระมหาวิเชียร ชินวํโส

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *